หัวข้อ   “ อนาคตพรรคเพื่อไทย อนาคตประชานิยม หลัง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ถูกถอดถอน
ประชาชน 45.7%เชื่อว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์ถูกถอดถอนเพราะปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริต
มากกว่าเกมการเมืองของฝ่ายตรงข้าม
44.6 % ยังสนับสนุนพรรคการเมืองที่คิดจะใช้นโยบายประชานิยมอย่างจำนำข้าวอยู่ แต่ต้องไม่มีทุจริต
57.3% ยังสนับสนุนพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งสมัยหน้า
46.5 % ระบุว่าการถอดถอนไม่ส่งผลต่อการสร้างความปรองดอง
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ดำเนินการ
สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “อนาคตพรรคเพื่อไทย อนาคตประชานิยม
หลัง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ถูกถอดถอน”
โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป
จำนวน 959 คน จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ พบว่า
 
                  ประชาชนร้อยละ 45.7 มีความเห็นว่าสาเหตุหลักที่ทำให้
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ ถูกถอดถอนมากที่สุด คือ การปล่อยปละละเลย
ให้มีการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว
รองลงมาร้อยละ 24.5 คิดว่าเป็นเกมการเมือง
ของฝ่ายตรงข้าม และร้อยละ 15.8 คิดว่าเกิดจากดำเนินโครงการขาดทุน ทำให้ประเทศ
เป็นหนี้ ที่เหลือร้อยละ 14.0 ไม่แน่ใจ อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาเฉพาะผู้ที่สนับสนุน
พรรคเพื่อไทยพบว่า ร้อยละ 41.0 คิดว่าสาเหตุหลักมาจากเกมการเมืองของฝ่าย
ตรงข้าม ขณะที่ผู้ที่ไม่ได้สนับสนุนพรรคเพื่อไทยร้อยละ 62.9 คิดว่าสาเหตุหลัก
มาจากการปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว
 
                 ทั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 57.6 คิดว่าหากมีการเลือกตั้งสมัยหน้า
พรรคเพื่อไทยจะยังคงใช้นโยบายประชานิยมในการหาเสียงเหมือนเดิม
และ
ร้อยละ 30.5 คิดว่าพรรคเพื่อไทยคงจะลดการใช้นโยบายประชานิยมในการหาเสียงลง
ที่เหลือร้อยละ 11.9 ไม่แน่ใจ
 
                 เมื่อถามต่อว่าการเลือกตั้งสมัยหน้าจะสนับสนุนพรรคการเมืองที่ใช้นโยบายประชานิยมอย่างโครงการ
รับจำนำข้าวในการหาเสียงหรือไม่ ประชาชนร้อยละ 44.6 ระบุว่าจะยังสนับสนุนแต่ต้องไม่มีเรื่องทุจริต
รองลงมา
ร้อยละ 21.1 จะไม่สนับสนุนเด็ดขาด และร้อยละ 17.6 ระบุว่าไม่สนับสนุน เพราะโอกาสขาดทุนสูง/ประเทศเป็นหนี้ มีเพียง
ร้อยละ 10.1 เท่านั้นที่จะสนับสนุนเหมือนเดิม
 
                 ส่วนบุคคลที่อยากให้เป็นตัวแทนพรรคเพื่อไทยในการชิงตำแหน่งนายกฯ ในการเลือกตั้งสมัยหน้า
ประชาชนร้อยละ 39.7 ระบุว่าให้ ใครก็ได้ที่ส่งในนามพรรคเพื่อไทยเพราะเชื่อมั่นในพรรคเพื่อไทย
รองลงมา
ร้อยละ12.6 อยากให้เป็นนักการเมืองคนอื่นๆ ในพรรคเพื่อไทย และร้อยละ 5.0 อยากให้เป็นคนในครอบครัว/คนในตระกูล
ชินวัตร ขณะที่ร้อยละ 38.3 ระบุว่าไม่ได้เลือกพรรคเพื่อไทยอยู่แล้ว
 
                 สำหรับความเห็นต่อการถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในครั้งนี้ว่าจะส่งผลต่อแผนการสร้างความปรองดอง
ของ คสช. และรัฐบาล อย่างไร ประชาชนร้อยละ 46.5 ระบุว่าไม่ส่งผลเพราะการถอดถอนไม่เกี่ยวกับเรื่อง
การปรองดอง แต่เป็นเพราะการคอร์รัปชั่น
รองลงมาร้อยละ 26.0 ระบุว่าอาจจะส่งผลบ้าง และร้อยละ 19.0 ระบุว่าส่งผล
อย่างมากโดยคาดว่าความปรองดองจะเกิดขึ้นช้าไปอีก ที่เหลือร้อยละ 8.5 ไม่แน่ใจ
 
 
                 โปรดพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้
 
             1. ความเห็นประชาชนเกี่ยวกับสาเหตุหลักที่ทำให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ
                 ถูกถอดถอนในการดำเนินโครงการรับจำนำข้าว คือ


 
ผู้สนับสนุน
พรรคเพื่อไทย
(ร้อยละ)
ผู้ไม่สนับสนุน
พรรคเพื่อไทย
(ร้อยละ)
ภาพรวม
(ร้อยละ)
การปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริตในโครงการ
35.5
62.9
45.7
เป็นเกมการเมืองของฝ่ายตรงข้าม
41.0
7.1
24.5
การขาดทุน ทำให้ประเทศเป็นหนี้
13.1
21.2
15.8
ไม่แน่ใจ
10.4
8.8
14.0
 
 
             2. ความเห็นต่อคำถามที่ว่า “พรรคเพื่อไทยว่าจะยังใช้นโยบายประชานิยมในการหาเสียงอีกหรือไม่”

 
ร้อยละ
จะยังคงใช้นโยบายประชานิยมในการหาเสียงเหมือนเดิม
57.6
จะลดการใช้นโยบายประชานิยมในการหาเสียง
30.5
ไม่แน่ใจ
11.9
 
 
             3. ความเห็นต่อคำถามที่ว่า “ในการเลือกตั้งสมัยหน้า ท่านจะสนับสนุนพรรคการเมืองที่ใช้นโยบาย
                 ประชานิยมอย่างโครงการรับจำนำข้าวในการหาเสียง หรือไม่”

 
ร้อยละ
สนับสนุนเหมือนเดิม
10.1
สนับสนุน แต่ต้องไม่มีเรื่องทุจริต
44.6
ไม่สนับสนุน เพราะโอกาสขาดทุนสูง/ประเทศเป็นหนี้
17.6
ไม่สนับสนุนเด็ดขาด
21.1
ไม่แน่ใจ
6.6
 
 
             4. บุคคลที่อยากให้เป็นตัวแทนพรรคเพื่อไทยในการชิงตำแหน่งนายกฯ ในการเลือกตั้งสมัยหน้า คือ

 
ร้อยละ
จะสนับสนุนพรรคเพื่อไทย โดย.....
ใครก็ได้ที่ส่งในนามพรรคเพื่อไทยเพราะเชื่อมั่นในพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 39.7
  นักการเมืองคนอื่นๆ ในพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 12.6
  คนในครอบครัว/คนในตระกูลชินวัตร ร้อยละ 5.0
57.3
ไม่ได้เลือกพรรคเพื่อไทยอยู่แล้ว
38.3
อื่นๆ อาทิ บุคคลที่ไม่มีประวัติด้านทุจริต มีความสามารถ มีความจริงใจ ฯลฯ
4.4
 
 
             5. ความเห็นต่อการถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในครั้งนี้ว่าจะส่งผลต่อแผนการสร้างความปรองดอง
                 ของ คสช. และรัฐบาล อย่างไร

 
ร้อยละ
ไม่ส่งผล เพราะการถอดถอนไม่เกี่ยวกับเรื่องการปรองดอง
             แต่เป็นเพราะการคอร์รัปชั่น
46.5
ส่งผลบ้าง แต่การถอดถอนก็ต้องมีและดำเนินไปตามกระบวนการ
26.0
ส่งผลอย่างมาก โดยคาดว่าความปรองดองจะเกิดขึ้นช้าไปอีก
19.0
ไม่แน่ใจ
8.5
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสำรวจความเห็นของประชาชนเกี่ยวกับ กรณีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ถูกถอดถอน
ว่าอะไรเป็นสาเหตุหลักที่ทำถูกถอดถอน อนาคตของพรรคเพื่อไทย และทิศทางการตอบรับของประชาชนต่อการใช้นโยบาย
ประชานิยมของพรรคอื่นๆ ที่หาเสียงในการเลือกตั้งสมัยหน้า รวมถึงผลกระทบต่อแผนการสร้างความปรองดองของ คสช.
และรัฐบาล เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์
ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการ
ถ่วงน้ำหนัก ด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้อง
สมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 26-27 มกราคม 2558
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 28 มกราคม 2558
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
529
55.2
             หญิง
430
44.8
รวม
959
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
168
17.5
             31 – 40 ปี
236
24.6
             41 – 50 ปี
241
25.2
             51 – 60 ปี
198
20.6
             61 ปีขึ้นไป
116
12.1
รวม
959
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
613
63.9
             ปริญญาตรี
268
28.0
             สูงกว่าปริญญาตรี
78
8.1
รวม
959
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
126
13.1
             ลูกจ้างเอกชน
219
22.9
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
384
40.1
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
56
5.8
             ทำงานให้ครอบครัว
1
0.1
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
128
13.3
             นักเรียน/ นักศึกษา
33
3.4
             ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม
12
1.3
รวม
959
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776